จากเหตุการณ์กราดยิงเมืองโคราช ได้มีการสูญเสียผู้คนบริสุทธิ์ไปหลายชีวิต และ เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆที่เสียสละชีพเข้าไปจับกุมผู้ร้าย และให้ความช่วยเหลือต่อประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่นั้น นอกจากมูลเหตุจูงใจและความบ้าคลั่งของผู้ก่อการร้ายหลายนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้คนทางโซเชียลมิเดียวพูดถึงมากที่สุดคือ สื่อ ที่ทำการรายงานข่าว ไม่มีการนำเสนอข่าวและข้อมูลได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงและออกมาเรียกร้องสังคมไปถึงช่องสื่อเหล่านี้ว่า ประเทศควรที่จะรื้อและทำการปฏิรูปการนำเสนอข่าว
และข้อมูลของวงการสื่อสารมวลชน แต่อย่างไรแล้วสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่พอใจนั้นก็เป็นเพราะ สื่อเหล่านั้นไม่มีและไม่พึงระลึกถึงจรรยาบรรณของวงการสื่อสารมวลชน ซึ่งในบทความนี้เราจะนำจรรยาบรรณของสื่อมาบอกกล่าวต่อกัน เพื่อให้ทุกคนได้ลองพิจารณาดูว่า สื่อเหล่านั้นทำผิดจรรยาบรรณจริงหรือไม่ มีทั้งหมดดังนี้
- ปฏิบัติให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสม
- ไม่สร้างข่าวขึ้นเอง
- ต้องเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมดแก่ผู้รับสาร
- ไม่ก้าวก่ายสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
- ไม่บังคับบุคคลให้พูด
- ซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่ต่อสู้เพื่อสังคม
- ซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่นำมากล่าวถึงในคอลัมน์
- รักษาไว้ซึ่งความลับของแหล่งข่าว
- ไม่ปิดบังอำพรางข่าวที่นำเสนอ
- ไม่ขายข่าว เพื่อเงิน หรือความพอใจส่วนตัว
- ละเว้นจากการเข้าร่วมพรรคการเมือง
- ต้องบริการคนส่วนรวม มิใช่บริการคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
- ช่วยต่อสู้และปราบปรามอาชญากร
- ต้องเคารพ และช่วยผดุงกฏหมายบ้านเมือง
- สร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ชุมชน
- ไม่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างญาติและเพื่อนของผู้อื่น
- คำนึงว่าการหย่าร้าง การฆ่าตัวตายนั้น เป็นปัญหาสังคมสิ่งหนึ่งไม่ควรเสนอข่าวไปในเชิงไม่สุภาพ
- อย่ากล่าวโจมตีคู่แข่ง
- อย่าหัวเราะเยาะความวิกลจริต จิตทราม หรือพลาดโอกาสของบุคคล
- เคารพนับถือวัด โบสถ์ เชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ของบุคคล
- หน้ากีฬาควรเขียนถึงทุกๆ คน
- แก้ไขข้อผิดพลาดที่พบในทันที
- จำไว้ว่าข่าวที่นำเสนอนั้น มีเยาวชนชายหญิงอ่านด้วย
ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นกฎจรรยาบรรณของวงการสื่อสารมวลชนที่บุคลากรในหน่วยงานนี้จะต้องพึงระลึกและคำนึงถึงมันเป็นที่สำคัญ แล้วคุณละมีความคิดเห็นอย่างไรกับสื่อที่ได้นำเสนอข่าวออกมาเช่นนั้น แต่ก็ไม่ใช่สื่อทุกช่องที่จะนำเสนอโดยไร้จรรยาบรรณ เพราะยังมีสื่อข่าวในบางช่องทำงานและหน้าที่อย่างเหมาะสมตามหลักของจรรยาบรรณสื่อสารมวลชนอย่างเที่ยงตรง หากได้ลองการนำเสนอข้อมูลและข่าวของสื่อบาช่องมาพิจารณาโดยใช้หลักจรรยาบรรณทั้ง 23 ข้อแล้ว เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าสื่อได้ละเมิดต่อจรรยาบรรณเป็นอย่าง ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้คนเรียกร้องถึงการปฏิรูปวงการสื่อของประเทศไทยเป็นอย่างมาก